วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

กรรณิการ์

ชื่อพื้นเมือง      กณิการ์ กรณิการ์ (กลาง) สะบันงา (น่าน)
ชื่อสามัญ         Night Jasmine
ชื่อวิทยาศาสตร์ Nyctanthes arbor-tristis Linn.
วงศ์               VERBENACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
กรรณิการ์เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 2-3 เมตร ลำต้นและ
กิ่งก้านเป็นเหลี่ยม มีขนสาก
ใบ    เป็นใบเดี่ยวหนาค่อนข้างแข็ง ออกเรียงตรงข้าม ตัวใบรูปไข่กว้าง 2-6 ซม.
ยาว 3.5-10 ซม. โคนใบมนปลายใบแหลม หรือยื่นเป็นติ่งแหลม ขอบใบเรียบหรือมีจักเล็กน้อย
พื้นผิวใบหยาบสากระคายมือ ก้านใบยาว 0.5-1 ซม.
ดอก    ออกเป็นช่อกระจายที่ปลายกิ่งคล้ายดอกพริกป่าหรือดอกพุดฝรั่ง ช่อหนึ่งมีประมาณ 3-7 ดอก ก้านช่อดอกยาว 1.2-2 ซม. ดอกย่อยสีขาวคล้ายดอกมะลิ แต่มีขนาดกลีบแคบกว่า กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อนติดกันเป็นหลอดรูปกรวยปลานตัดหรือหยักตื้นๆ 5 หยัก ด้านนอกมีขน ด้านในเกลี้ยง ส่วนโคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสีส้มแดงปลายหลอดแยกเป็นกลีบๆประมาณ 5-7 กลีบ ที่ปลายกลีบมีสองแฉกขนาดไม่เท่ากัน ลักษณะเป็นจานคล้ายรูปกงจักร เมื่อบานเต็มที่ มีขนาดโตประมาณ 1.5 ซม.
ผล      เป็นแผ่นแบนๆภายในมีเมล็ด 2 เมล็ด
การปลูก  กรรณิการ์เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ขยายพันธ์โดยกานตอนกิ่งหรือปักชำ
ประโยชน์ทางยา
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบ ดอก เปลือกต้น ราก

รสและสรรพคุณในตำรายาไทย
ใบ บำรุงน้ำดี ขับน้ำดี แก้ปวดตามข้อ เป็นยาระบาย เป็นยาขมเจริญอาหาร
ในอินเดียใช้เป็นยาขับประจำเดือน
ดอก ทำยาหอม แก้ไข้ ลมวิงเวียน แก้พิษทั้งปวง เข้าโลหิตตีขึ้น แก้ไข้ผอมเหลือง
เปลือกต้น ต้มดื่มแก้ปวดศรีษะ แก้ไข แก้ไอ
ราก แก้อุจจาระเป็นพรรดึก บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง ป้องกันผมงอก
บำรุงผิวหน้าให้สดชื่น เป็นยาอายุวัฒนะ แก้อ่อนเพลีย
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ฤทธิ์ต้านมาลาเรีย ฤทธิ์ต้านเชื้อ Leishmania ขับพยาธิ ต้านเชื้อบิดมีตัว ต้านเชื้อรา ต้านการอักเสบ แก้ปวด ต้านเชื้อไวรัส ฆ่าแมลง
พิษวิทยา
การทดสอบความเป็นพิษพบว่าสารสกัดจากใบด้วยอัลกฮอล์ 95% เมื่อใช้ในปริมาณ 16 . /กก. มีผลทำให้หนูขาวตายครึ่งหนึ่ง และสารสกัดจากใบด้วยน้ำและอัลกฮอร์ (1:1) ขนาดที่ทำให้หนูทดลองตายครึ่งหนึ่งมีค่ามากกว่า 1. /กก.
ประโยชน์อื่น
ดอกกรรณิการ์มีสารพวก Carotenoid nyctanthin ซึ่งให้มีสีเหลืองอมแสดนำมาใช้แต่งสีอาหารและย้อมผ้าได้ โดยใช้ดอกส่วนที่ติดกันเป็นหลอดสีส้มแดงนำมาตำแล้วคั้น ใช้ส่วนน้ำกรองจะได้น้ำสีเหลืองใส นำไปผสมสีอาหารส่วนการย้อมผ้าให้ใช้ส่วนที่เป็นหลอดสีส้มแดงตากแห้ง นำก้านดอกแห้งมาต้มกับน้ำเพื่อสกัดสีกรองของกากทิ้ง ใช้ย้อมผ้าไหม ถ้าต้องการให้สีคงทน ให้เติมน้ำมะนาวหรือสารส้มลงไป
ลักษณะเด่นพิเศษ

กรรณิการ์จะออกดอกในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน เป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมในตอนกลางคืน ส่วนในเวลาเช้าดอกจะร่วงหล่นหมด



กระดังงาไทย
ชื่อพื้นเมือง กระดังงาใบใหญ่ กระดังงาใหญ่ (กลาง) สะบันงาต้น สะบันงา(เหนือ)
กระดังงา (ตรัง-ยะลา) กระดังงา กระดังงอ (ใต้)
ชื่อสามัญ Kenanga, Ylang Ylang, perfume Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cananga odorata (Lamk.) Hook. f. & th.
วงศ์  Annonaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
กระดังงาไทยเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 15-20 เมตร เรือนยอดทรงพุ่มแน่น ใบดกหนาทึบ แตกกิ่งก้านสาขามาก ลำต้นตั้งตรง เปลือกต้นสีเทามีรอยแผลใบขนาดใหญ่อยู่ทั่วไป
ใบ เป็นใบเดี่ยวสีเขียวเข้ม ออกแบบเรียงสลับในลักษณะห้อยลง ตัวใบรูปรีหรือรูปไข่ยาวกว้าง 4-8 เมตร  ยาว 9-10  ซม. โคนใบมน ปลายใบแหลมหรือมีติ่ง ขอบใบเรียบ  หรือเป็นคลื่น ผิวใบเรียบบางนิ่ม ใบอ่อนมีขนทั้งสองด้าน ใบแก่มักมีขนมากตามเส้นแขนงใบ ก้านใบยาว 1-1.5 ซม.
ดอก ออกเป็นช่อขนาดใหญ่บนกิ่งเหนือรอยแผลใบ ช่อหนึ่งๆ มี3-6 ดอก  ก้านช่อดอกยาว 0.5-1 ซม. มีขน ดอกย่อยสีเหลืองอมเขียวหรือสีเหลือง มีกลีบดอก 6 กลีบ แต่ละกลีบเป็นรูปกลีบแคบ ปลายเรียวยาว  ขอบกลีบหยักเป็นคลื่นๆ ยาวประมาณ 5-9 ซม. ลักษณะกลีบบิดม้วนไปมา กลีบดอกแบ่งเป็น 2ชั้น ชั้นละ3 กลีบ กลีบชั้นในมีขนาดสั้นและแคบกว่าเล็กน้อย โคนกลีบดอกจะซ้อนทแยงอยู่ใต้รังไข่ เกสรตัวผู้มีจำนวนมากเบียดกันเป็นตุ้มแป้นทรงกลมตรงกึ่งกลางดอก กลีบเลี้ยงมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมมีจำนวน 3 กลีบ ก้านดอกยาว 2-5 ซม. มีขน
ผล เป็นผลกลุ่ม อยู่บนตุ้มกลม 4-15 ผล  แต่ละผลเป็นรูปไข่   กว้าง 1-15 ซมยาว 1.5-2.5 ซม. ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาลอ่อน รูปไข่แบน 2-12 เมล็ด
การปลูก กระดังงาเป็นไม้กลางแจ้ง ชอบดินที่ร่วนซุยหรือดินเหนียวที่อุ้มน้ำได้ดี ขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง
ประโยชน์ทางยา
ส่วนที่ใช้เป็นยา ดอกแก่จัดสีเหลือง เนื้อไม้ เปลือกต้น ใบ เกสร ราก
ช่วงเวลาเก็บยา จะต้องเก็บในเวลากลางคืนเพื่อนำมากลั่นน้ำมันหอมระเหยในวันรุ่งขึ้น
รสและสรรพคุณในตำรายาไทย
ดอก รสหอมสุขุมบำรุงโลหิต บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ
เนื้อไม้ รสขมเฝื่อน ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ
เปลือกต้น รสฝาดเฝื่อน ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้ท้องเสีย
ใบ รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน แก้คัน ขับปัสสาวะ
เกสร แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ปัถวีธาตุ แก้โรคตา ช่วยเจริญอาหาร
ราก คุมกำเนิด
ขนาดและวิธีใช้ ตำรายาไทยใช้ดอกกระดังงาเข้ายาหอม
สาระสำคัญ
ดอก มีน้ำมันหอมระเหยเรียกว่า “Ylang Ylang oil” ประกอบด้วยสาระสำคัญคือ safrole, geraniol , linalool, pinene terpene และ ester ของกรด formic, acetic, valeric, benzoic  และ salicylic
น้ำมันใช้แต่งกลิ่นน้ำหอมและแต่งกลิ่นอาหาร  จึงเป็นพืชเศรษฐกิจได้
การทดลองทางคลินิก
                พบว่ากระดังงาไทยปลอดภัย  ไม่มีพิษและพบว่ามีฤทธิ์ลดความดัน  ต้านเชื้อรา  ต้านเชื้อแบคทีเรีย  ยีสตื  ไล่แมลง  และทำให้ระคายเคืองผิวหนัง  และที่สำคัญฆ่าเซลมะเร็งได้  จึงนับว่า  “กระดังงา”  เป็นสมุนไพรที่น่าสนใจมาก  ในต่างประเทศใช้น้ำมันจากกระดังงา  ในการรักษาโดยใช้เครื่องหอม “aromatherapy” แก้อาการหัวใจเต้นเร็ว (tachycardia)  หายใจหอบ  ความดันสูง  ปัญหาระบบทางเดินอาหาร และปัญหาจิตใจเกี่ยวกับทางเพศ  จะเห็นได้ว่ากระดังงามีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อ  และสงบประสาท  ลดความดัน  ลดไข้
ประโยชน์อื่น
                น้ำมันหอมระเหยจากดอกแก่จัดที่เรียกว่า Ylang Ylang oil ใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง    น้ำอบ  ทำน้ำหอม  ใช้ปรุงขนมและอาหารให้มีกลิ่นหอมน่ารับประทาน  โดยการนำดอกแก่จัดสดมารมควันเทียนหรือเปลวไฟจากเทียนเพื่อให้ต่อมน้ำหอมในกลีบดอกแตก  และส่งกลิ่นหอมออกมา แล้วนำมาเสียบไม้ลอยน้ำในภาชนะปิดสนิท ๑ คืน  เก็บดอกทิ้งตอนเช้า  นำน้ำไปคั้นกะทิหรือทำน้ำเชื่อมปรุงขนมหวานต่างๆ เช่น  ทับทิมกรอบ  ข้ามต้มน้ำวุ้น  ซ่าหริ่ม  เป็นต้น
                นอกจากนี้คนโบราณใช้ดอกทอดกับน้ำมันมะพร้าวทำขนมใส่ผม
ลักษณะเด่นพิเศษ
                กระดังงาเป็นไม้หอมกลิ่นแรงที่มีดอกตลอดปี  นิยมนำดอกมาทำเป็นเครื่องหอมใช้ในการปรุงขนม  ทำน้ำอบ มีดอกประดับตามบ้านบ้างแต่ไม่มาก เนื่องจากเป็นต้นไม้ใหญ่



กระดังงาสงขลา
ชื่อพื้นเมือง            กระดังงาสงขลา (ทั่วไป)  กระดังงาสาขา (กรุงเทพ)  กระดังงอ (มาเลย์ - ยะลา)
ชื่อสามัญ                Ka - Dung - Nga - Songkla
ชื่อวิทยาศาสตร์      Cananga odorata Hook.f. & Th. var. fruticosa (Craib) J. Sincl.
วงศ์                         ANNONACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
                กระดังงาสงขลามีลักษณะต้นใบ และดอกคล้ายกระดังงาไทยมาก  ต่างกันตรงที่กระดังงาสังขลาเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง ๑ - ๔ เมตร  ทรงพุ่มโปร่ง  ใบสั้นกว่า  ใบยาว ๖ - ๗ ซ.ม.  ก้านใบยาว ๑ - ๒.๕ ซ.ม.
ดอก        เป็นดอกเดี่ยวออกบนกิ่งด้านตรงข้ามกับใบ  ดอกสีเหลืองอ่อน  กลิ่นหอม    มีกลีบดอก ๑๕ - ๒๔  กลีบ   กลีบก้านดอกยาว ๔ - ๖ ซ.ม.  กลีบเลี้ยงรูปไข่  ปลายแหลม  กว้าง ๔ - ๗ ซ.ม.  ยาว ๑ - ๑.๓ ซ.ม.  กลีบดอกสีเหลืองมี ๑๕ - ๒๔  กลีบ   บิดและเป็นคลื่นมากกว่ากระดังงาไทย  กลีบดอกชั้นนอกยาว  และใหญ่กว่ากลีบดอกชั้นในตามลำดับ  มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียจำนวนมาก
การปลูก
                กระดังงาสงขลาพบมากทางภาคใต้ของประเทศไทย  นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ  ขึ้นดีในดินทั่วไป  ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง
ประโยชน์ทางยา
                ส่วนที่ใช้เป็นยา                     ดอก เนื้อไม้
                รสและสรรพคุณในตำรายาไทย
                ดอก        รสสุขุมหอม  บำรุงหัวใจ  แก้ลมวิวเวียน  บำรุงเลือด  แก้หืด (อินโดนีเซีย)
                เนื้อไม้    รสขมเฝื่อน  ขับปัสสาวะ  แก้ปัสสาวะพิการ
                เปลือก    มีรสฝาดเฝื่อน  อินโดนีเซียใช้เปลือกแก้คัน
                ขนาดและวิธีใช้
                                ตำรายาไทยใช้ดอกกระดังงาสงขลาเข้ายาหอมบำรุงหัวใจ  น้ำมันหอม  ใช้ปรุงขนม  น้ำหอมแต่งกลิ่น
ลักษณะเด่นพิเศษ
                กระดังงาสงขลาเป็นไม้ที่มีดอกหอมเหมือนกระดังงาไทย  และออกดอกตลอดปี  เป็นไม้พุ่มที่มีความสูงไม่มาก  จึงเหมาะแก่การปลูกไว้ในบริเวณบ้านอย่างยิ่ง  เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบกลิ่นหอมของกระดังงาแต่ไม่มีเนื้อที่จะปลูก  กระดังงาสงขลานี้เมื่อดอกอยู่กับต้นจะหอม  แต่เมื่อเด็ดออกจากต้นจะเหม็นเขียว


กระถินณรงค์
                ชื่อพื้นเมือง กระถินณรงค์ (กรุงเทพ)
                ชื่อสามัญ    Wattle
                ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia auriculaeformis Cunn.
                วงศ์          MIMOSACEAE
                ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
                กระถินณรงค์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 4-15 เมตร เรือนยอดแผ่กว้างทรงพุ่ม มีใบและกิ่งก้านหนาแน่น ลำต้นสีน้ำตาล เปลือกแตกตามยาวไม่เป็นระเบียบ กิ่งอ่อนสีเขียว มักห้อยลง
                ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เมื่อยังเป็นกล้าอยู่ และร่วงไปเมื่อเจริญขึ้นเหลือเพียงก้านใบ แล้วแปรสภาพเป็นแผ่นคล้ายใบเรียงสลับถี่ห่างกันป็นระยะๆก้านใบนี้เป็นรูปขอบขนาน กว้าง 1-6 ซม. ยาว 8-20 ซม. ปลายเรียวแหลมทั้งสองด้าน โค้งเป็นรูปเคียว แผ่นใบหนาเรียบ ผิวเกลี้ยงมีเส้นจางๆตามยาว 3-4 เส้น
                ดอก ออกเป็นช่อคู่ตามโคนก้านใบ ตามยอดหรือปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 4-10  ซม. ในช่อหนึ่งๆประกอบด้วยดอกเล็กๆเป็นจำนวนมาก ไม่มีก้านดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบโคนติดกัน กลีบดอก 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก เมื่อดอกบานจะเห็นเกสรสีเหลืองโผล่จากดอกทำให้ดูเป็นสีเหลืองทั้งช่อ กลิ่นหอม
                ผล เป็นฝักแบนเล็กและบิดม้วนเป็นวงกลม เมื่อแก่จะแตกออก ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาล   5-12 เมล็ด
                การปลูก กระถินณรงค์ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด ขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด
                ประโยชน์ทางยา ไม่พบ
                ประโยชน์อื่น ไม้ใช้เป็นถ่าน
กระถินเทศ
                ชื่อพื้นเมือง บุหงาอินโดนีเซีย (กรุงเทพ) กระถิน (กลาง) กระถินเทศ กระถินหอม คำใต้ ดอกคำใต้ (เหนือ) มอนคำ (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) เกากรึนอง (กาญจนบุรี) ถิน (ใต้) บุหงาละสะมะนา (ปัตตานี) บุหงาเซียม (มาเลย์-ใต้)
                ชื่อสามัญ  Spongen Tree, Cassie Flower
                ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia farnesiana (Linn.Willd.
                วงศ์  FABACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
                กระถินเทศเป็นไม้พุ่ม ผลัดใบ หรือไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 3-5 เมตร ตามกิ่งก้านมีขนและหนาม
                ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกแบบเรียงสลับ ช่อย่อยมีใบย่อย 10-21 คู่ ใบย่อยรูปขอบขนานขนาดเล็ก ปลายใบแหลม โคนใบตัดตรง ใบมีขนทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
                ดอก ออกเป็นช่อเดี่ยวหรือช่อกระจุกประมาณ 5 ช่อ ตามซอกใบ ช่อดอกประกอบด้วยดอกเล็กๆจำนวนมาก
                ผล เป็นฝักโค้ง กว้าง 1-2 ซม. ยาว 4-7.5 ซม. ภายในมีเมล็ดรูปรี
                การปลูก ขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด
                ประโยชน์ทางยา
                ส่วนที่ใช้เป็นยา  ราก เปลือกต้น ยาง
                รสและสรรพคุณในตำรายาไทย
                ราก แก้พิษสัตว์ต่อย เป็นยาอายุวัฒนะ แก้อักเสบ ฝีมีหนอง รักษาบาดแผลในคอ ตำราภาคเหนือต้มน้ำอมแก้ปวดฟัน
                เปลือกต้น สมานแผล ห้ามเลือด แก้ท้องเสีย เป็นยาฝาดสมาน
                ยาง ทำให้ชุ่มคอ แก้ไอ เป็นยาฝาดสมาน บรรเทาอาการระคายคอ
                ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
                เพิ่มอัตราและความแรงในการเต้นของหัวใจ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ลดการอักเสบ ขยายหลอดลม
                ประโยชน์อื่น
                ต่างประเทศใช้เป็นน้ำหอม กระตุ้นความสดชื่น ลดความเครียด
                ดอก สกัดน้ำมันหอมระเหยมาทำน้ำหอม ใช้ภายในแก้ท้องเดิน โรคผิวหนัง
ต้มอาบแก้ผิวแห้ง นอกจากนี้ยังใช้ทำยาฆ่าแมลงอีกด้วย
                ผล หรือฝักใช้ฟอกหนัง
                ลักษณะเด่นพิเศษ
                กระถินเทศเป็นไม้ที่มีกลิ่นหอมตลอดทั้งวัน ออกดอกตลอดปี


กฤษณา
                ชื่อพื้นเมือง กฤษณา (ตะวันออก)
                ชื่อสามัญ Eagle Wood
                ชื่อวิทยาศาสตร์ Aquilaria crassna Pierre ex H. Lec.
                วงศ์  THYMELAEACEAE
                ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
                กฤษณาเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 18-30 เมตร ลำต้นตั้งตรง เรือนยอดเป็นพุ่มทรงเจดีย์ต่ำๆ
                ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ตัวใบรูปรีแกมขอบขนานหรือรูปไข่กลับกว้าง 2.5-5 ซม.
ยาว  5-9 ซม. โคนใบมน
                ดอก ออกเป็นช่อใหญ่ตามกระจุกตามง่ามใบและปลายกิ่งดอกย่อยขนาดเล็กสีเขียวอมเหลือง กลีบรวมติดกันเป็นหลอดสั้นๆ
                ผล รูปรีปลายมน เปลือกแข็ง มีขนสั้นประปราย
                การปลูก กฤษณาชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธ์ในประเทศไทยทางภาคตะวันตกเฉียงใต้และภาคใต้
                ประโยชน์ทางยา
                ส่วนที่ใช้เป็นยา เนื้อไม้ แก่นไม้ น้ำมันจากเมล็ด
                ช่วงเวลาเก็บยา
                เนื้อไม้ที่ดีต้องมีกลิ่นหอม และเป็นสีดำ เมื่อตัดเป็นท่อนๆโยนลงน้ำแล้วจมทันที แสดงว่าเป็นไม้ที่ดี  จึงจะนำมาใช้ทำยา
                รสและสรรพคุณในตำรายาไทย
                เนื้อไม้ สรรพคุณเป็นยาบำรุงหัวใจ แก้อาเจียน วิงเวียนศีรษะ ท้องร่วง
                แก่นไม้ บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงตับและปอด
                น้ำมันจากเมล็ด รักษาโรคผิวหนัง แก้โรคเรื้อน แก้มะเร็ง

                ประโยชน์อื่น ชาวฮินดูใช้ชันมาจุดไฟ เพื่อให้มีกลิ่นหอมในโบสถ์

กันเกรา
                ชื่อพื้นเมือง กันเกรา(กลาง) ตำเสา ทำเสา (ใต้) มันปลา (เหนือ-ตะวันออกเฉียงเหนือ)
                ชื่อสามัญ                Tembusu
                ชื่อวิทยาศาสตร์  Fagraea fragrans Roxb.
                วงศ์   POTALIACEAE
                ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
                กันเกราเป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 20-30 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปทรงกระบอกทึบๆ ปลายกิ่งห้อยลู่ลง เปลือกต้นหยาบ สีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องลึก
                ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆตัวใบรูปรี ยาว 8-11 เซนติเมตร กว้าง 2.5- 3.5 เซนติเมตร ปลายใบและฐานใบแหลม เนื้อใบบางแต่เหนียว
                ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยมีกลีบรองดอกขนาดเล็กมาก เมื่อดอกเริ่มบานมีสีขาวแล้วจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
                ผล มีลักษณะกลม กว้างประมาณ 6 มิลลิเมตร มีติ่งแหลมสั้นๆที่ปลายผล ผลอ่อนสีส้ม ผลสุกสีแดง
                การปลูก กันเกราพบขึ้นมากในป่าพรุแถวตราดจันทบุรีหรือชุมพร
                ประโยชน์ทางยา
                ส่วนที่ใช้ เปลือกแก่น
                รสและสรรพคุณในตำรายาไทย
                เปลือก บำรุงโลหิต แก้ผิวหนังพุพอง ปวดแสบปวดร้อน
                แก่น รสเฝื่อนฝาดขม สรรพคุณขับลม
                ประโยชน์อื่น
                เนื้อไม้ของกันเกราซึ่งมีสีเหลืองอ่อน เนื้อละเอียด เหนียวแข็ง ทนทานมาก ปลอดภัยจากปลวกและชักเงาได้ดีสามารถนำมาใช้ก่อสร้างบ้านเรือน
                ลักษณะเด่นพิเศษ
                กันเกราจะออกดอกสีเหลืองนวลเต็มต้นในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนมิถุนายน ส่งกลิ่นหอมเย็นน่าชื่นใจ

 

จากหนังสือ พรรณไม้หอม
https://www.youtube.com/watch?v=n4IHwP4iNoY